บ้านคนไอที-ตะนาวศรี ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง .."สาวกะเหรี่ยงเคียงถิ่นตะนาวศรี ลำภาชี แก่งส้มแมวแนวหินผา ธารน้ำร้อนบ่อคลึง ตรึงติดตรา น้ำผึ้งป่าหวานซึ้ง ติดตรึงใจ"..ยินดีต้อนรับสู่อำเภอจอมบึง สวนผึ้ง และบ้านคา ชายแดนตะวันตกเมืองไทย

บันทึกวันเวลาที่ผันผ่าน

คำคม-บทกลอน

คำคมวันนี้

ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน

อันเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย
ดีกว่าร้อย เพื่อนคิด ริษยา


คำคม-สอนใจ(คน)

เป็นมนุษย์หรือเป็นคน โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง
เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน
ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
...

ประทับใจล่องเรือชมคลองเขาแดง


พักผ่อน

พักผ่อน

สบายๆ

สบายๆ

ท่านกำลังเข้าสู่บริการรัฐปรับค่าไฟ parody by DRZO You...

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เทคนิคการสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method )

เทคนิคการสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method )

ความหมาย วิธีสอนแบบอุปนัย
เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ แล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นข้อสรุป

ความมุ่งหมายและวิธีสอนแบบอุปนัย
เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สำคัญ ๆ ด้วยตนเองกับให้เข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของความคิด ต่าง ๆ อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดจนกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการทำการสอบสวนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง

ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย
1. ขั้นเตรียม คือ การเตรียมตัวนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม กำหนด จุดมุ่งหมาย และอธิบายความมุ่งหมายให้นักเรียนได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

2. ขั้นสอนหรือขั้นแสดง คือ การเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่าง ๆ ให้นักเรียนได้พิจารณา เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบ สรุปกฎเกณฑ์ได้ การเสนอตัวอย่าง ควรเสนอหลายๆ ตัวอย่างให้มากพอที่จะสรุปกฎเกณฑ์ได้ ไม่ควรเสนอเพียงตัวอย่างเดียว

3. ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวม คือ การที่นักเรียนได้มีโอกาสพิจารณาความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ไม่ควรรีบร้อนหรือเร่งเร้าเด็กเกินไป

4. ขั้นสรุป คือ การนำข้อสังเกตต่าง ๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์ นินามหลักการ หรือสูตร ด้วยตัวนักเรียนเอง

5. ขั้นนำไปใช้ คือ ขั้นทดลองความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปที่ได้มาแล้วว่าสามารถที่จะนำไปใช้ในปัญหาหรือแบบฝึกหัดอื่น ๆ ได้หรือไม่

ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี

1. จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน
2. ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์
3. ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้องตามหลักจิตวิทยา

ข้อจำกัด
1. ไม่เหมาะสมที่จะใช้สอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ
2. ใช้เวลามาก อาจทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย
3. ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นทางการเกินไป
4. ครูต้องเข้าใจในเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ในการสอน

ที่มา
http://www.arts.ac.th/
และขอขอบคุณ เว็บ http://news4teacher.blogspot.com/2010/04/inductive-method.html
เพื่อเป็นวิทยาทาน ทางการศึกษา ครับ พัฒนาการศึกษาของไทย

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS
...รักนะ จุ๊บ จุ๊บ...
..ท่านมาเราดีใจ ท่านจากไปเราคิดถึง.....

ข่าวสารอัพเดท

เรื่องน่ารู้